วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและSocial Network

ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและSocial Network



ทุกวันนี้  Social Network มีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป  ข้อดีก็คือสามารถคุยกับเพื่อนได้ทุกที่ ความสัมพันธ์ของเพื่อนไม่ขาดหาย แต่ถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็เกิดอันตรายได้เช่นกัน
ConsumerReports.org (June 2012)  พบว่า กว่า 4.8 ล้านคนที่ใช้ Facebook ทั่วโลกบอกแผนการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเขาผ่านสเตตัสในเฟซบุ๊ก และนั่นก็คือแหล่งข้อมูลอันหอมหวานของกลุ่มมิจฉาชีพที่ซุ่มก่อกวนอยู่มากมาย ในโลกอินเตอร์เน็ต และ เยาวชนกว่า 800,000 คนตกเป็นเหยื่อของภัยอันตรายที่เกิดขึ้น

headline02 

มีกรณีเด็กสาวออสเตรเลียอายุ 17ปี ช่วยนับเงินเก็บของคุณยายอยู่ที่บ้าน  ระหว่างนับเงิน เด็กสาวแชร์รูปกองเงินกองทองลง facebook กลางดึก คืน นั้นชายโฉดพร้อมอาวุธบุกเข้าบ้านเด็กสาวหวังเจอสมบัติ โชคยังดีไม่มีใครอยู่บ้าน จึงไม่มีใครบาดเจ็บและคนร้ายได้เงินไปเพียงเล็กน้อย ตำรวจจึงออกมาเตือนสติประชาชนทุกคนว่าอย่าโพสต์ข้อมูลส่วนตัวลง social media ไม่อย่างนั้นอาจจะโชคร้ายสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมากและถึงแก่ชีวิตก็เป็นได้

socialnet01

เก็บตกจากงานนิทรรศการ คลิกก่อนคลิก CYBERSECURITY มหันตภัยปลายนิ้ว ที่จัดโดย กสทช. เมื่อ 25-27 มกราคมที่ผ่านมา ก็ได้นำเสนอเกี่ยวกับการระวังภัยในการใช้งาน Social Network โดยเฉพาะการรับคนเป็นเพื่อนผ่านทาง Facebook และ Line โดย ภายในงานได้จำลองโดยนำโปสเตอร์แนะนำตัว พร้อมภาพโปรไฟล์ เป็นชายสุดหล่อ หญิงสุดสวย ให้คุณมา Add เป็นเพื่อนชวนออกเดต ซึ่งลักษณะแบบนี้เห็นได้กับการโพสแนะนำตัวบนอินเตอร์เน็ตด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว หน้าตาตัวจริงอาจไม่ใช่หน้าตาเดียวกันกับในโปรไฟล์ที่แนะนำบนอินเตอร์เน็ตก็ ได้ ดังนั้น อย่า Add กับคนที่ไม่รู้จักเลยดีกว่า รู้หรือไม่ว่าคนร้ายอาจใช้วิธีนี้ หลอกผู้หลงเชื่อรับ add ไป เพื่อให้เป็นเหยื่ออาชญากรรมก็เป็นได้ ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นเป็นข่าวดังแล้วทั้งในไทยและต่างประเทศ


วิธีระวังภัยสำหรับผู้ใช้ Social Network  ลองปฏิบัติดังนี้ เพื่อความปลอดภัยของคุณ
• เลือกคน ก่อนรับเป็นเพื่อน : เพราะเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้ชมอีกคนหนึ่งที่มองเห็นเรื่องราวของเรา คัดเลือกเฉพาะคนไว้ใจ เพื่อนไม่ต้องมีเยอะก็ได้ ขอแค่เป็นคนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจก็พอ
• ก่อนจะโพสต์อะไร ลองตรวจสอบเนื้อหาและความเหมาะสมก่อนนะ เพราะสิ่งที่ถูกแชร์ออกไป จะไม่ใช่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไป ระวังอย่าให้เป็นเรื่องเสื่อมเสีย หรือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับคนอื่น
• อย่ารายงานทุกความเคลื่อนไหวตลอดเวลา ว่าคุณทำอะไร อยู่ที่ไหน  เพราะอาจจะมีผู้ไม่หวังดีไม่เห็นเข้า และอาจทำให้คุณเป็นเป้านิ่งที่ถูกซุ่มโจมตีโดยมารู้ตัว
• ควรตั้งพาสเวิร์ดให้แตกต่างกันในแต่ละ account ใน social media อีกทั้งพาสเวิร์ด ควรใช้ตัวอักษรอย่างน้อย 8 ตัว เป็นอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก ที่มีตัวเลขรวมอยู่ด้วย และตั้งรหัสให้ต่างกันในแต่ละ account  ของ social network ของคุณ  ไม่งั้นบัญชี social network ของคุณจะ โดน hack ได้ง่ายๆ เพราะกรณีรหัสเดียวกัน แฮคได้ทุกเว็บ
• ก่อนแท็กใคร ควรได้รับคำอนุญาติจากเพื่อนของคุณก่อนที่จะ แท็กรูปภาพ หรือสถานที่ต่างๆ เพราะบางทีเค้าอาจจะต้องการความเป็นส่วนตัวก็ได้
• หมั่นตรวจสอบ ชื่อหรือ account  ใน social media ของตัวเองใน google บ้าง เผื่อมีภาพหรือข้อความที่มีผู้ไม่หวังดีเอาไปเผยแพร่ จะได้ระงับทัน

ที่มาhttp://www.it24hrs.com/2013/social-network-lookout-cybersecurity/

อธิบาย สปายแวร์คอมพิวเตอร์ (Spyware)


อธิบาย สปายแวร์คอมพิวเตอร์ (Spyware)

สปายแวร์ (Spyware)

 
สปายแวร์ (Spyware) มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายโทรจันคือ ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ อาศัยการหลอกผู้ใช้ให้ติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ประสงค์ดีลงบนเครื่องของตนเอง หรืออาศัยช่องโหว่ของ Web Browser ในการติดตั้งตัวเองลงบนเครื่องเหยื่อ สิ่งที่มันทำคือรบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้มากที่สุด บางตำราอาจใช้คำว่า Grayware ซึ่งแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด เช่น 

Dialer เป็นสปายแวร์ที่เคยอยู่บนเว็บโป๊ต่างๆ และใช้โมเด็มเครื่องเหยื่อหมุนโทรศัพท์ทางไกลต่อไปยังต่างประเทศ

Hijacker เป็นสปายแวร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลง Start Page และ Bookmark บนเว็บบราวเซอร์ต่างๆ

BHO (Browser Helper Objects) เป็นสปายแวร์ที่ยัดเยียดฟังก์ชั่นที่ไม่พึงประสงค์ให้บนเว็บบราวเซอร์

Toolbar บางอย่างก็จัดเป็นสปายแวร์ที่ยัดเยียดเครื่องมือที่ไม่พึงประสงค์ให้บนเว็บบราวเซอร์ด้วย


  
 

อธิบาย ม้าโทรจันคอมพิวเตอร์ (Trojan)

อธิบาย ม้าโทรจันคอมพิวเตอร์ (Trojan)

 
ม้าโทรจัน (อังกฤษTrojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)โปรแกรม ม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์
 
 

อธิบายหนอนคอมพิวเตอร์ (Wrom)

อธิบายหนอนคอมพิวเตอร์ (Wrom)

        หนอนคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมคล้าย ๆ กับไวรัสที่ได้เคยอธิบายไปแล้ว แต่หนอน คอมพิวเตอร์ทำงานแตกต่างไปบ้าง กล่าวคือ จะทำงานในระบบเครือข่าย เช่นระบบอินเทอร์เน็ต เมื่อหนอนคอมพิวเตอร์ หาทางเข้าไปสู่หน่วยความจำ ของคอมพิวเตอร์ได้แล้ว มันก็จะเริ่มตรวจสอบ บัญชีรายชื่อ ในแฟ้มลูกข่ายของ เครื่องนั้นว่า มีที่อยู่ของใครบ้าง จากนั้นก็จะก๊อปปี้ตัวมันเอง ส่งไปยังชื่อในบัญชีนั้น เมื่อไปถึงและมีโอกาส เข้าไปสู่หน่วยความจำ แล้วก็จะรอแผลงฤทธิ์ แบบเดียวกันกับ ที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้น ในไม่ช้า ในระบบเครือข่าย ก็จะมีหนอนส่งตัวเอง กลับไปกลับมา อยู่ตลอดเวลา ผลก็คือ ระบบเครือข่ายก็ทำงานช้าลงหนอน คอมพิวเตอร์บางตัว ถูกบรรจุใส่ห่อแฟ้มข้อมูลมาพร้อมกับจดหมายอีเมล์ หากไม่เปิดห่อดูหนอนก็ไม่ออกมาอาละวาด แต่หนอนบางตัวมาพร้อมกับ จดหมายอีเมล์ เลยทีเดียว ดังนั้นเพียงแค่เปิดจดหมายอ่าน หนอนก็ออกมาอาละวาดได้แล้ว







อธิบาย ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus)

ในอดีต คำว่า "ไวรัสคอมพิวเตอร์" เป็น นิยามของโปรแกรมที่สร้างปัญหาและก่อให้เกิดความเสียหายต่างๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถแพร่กระจายตัวเองจากไฟล์หนึ่งไปยังไฟล์อื่นๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถแพร่กระจายข้ามเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการที่ไวรัสคอมพิวเตอร์สามารถแพร่กระจายข้ามเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ใช้นำไฟล์ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ไปใช้บนเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น นำแผ่น diskette หรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่มีไฟล์ของ ไวรัสคอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่มาใช้งาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเมื่อ เวลาผ่านไปไวรัสคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนารูปแบบ เทคนิคการแพร่กระจาย ความสามารถ รวมทั้งความรุนแรงในการก่อความเสียหายให้ระบบ ที่แตกต่างไปจากเดิมมาก ดังนั้น ปัจจุบันคำว่า "ไวรัสคอมพิวเตอร์" จึงมีความหมายที่กว้างขึ้นไปจากเดิมและมีการบัญญัติคำศัพท์ขึ้นมาใหม่ว่า "มาลแวร์ (Malware: Malicious Software)" ซึ่งหมายถึงชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใด ๆ ที่ได้รับการจัดทำขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอาจมีความสามารถในการเคลื่อนที่จากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้ด้วยตัวเอง
นั่นคือ ปัจจุบัน "ไวรัสคอมพิวเตอร์" ถูกนำมาใช้ในความหมายของ "มาลแวร์" กันอย่างกว้างขวาง (ในบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน) ซึ่งนอกจากจะหมายถึงไวรัสคอมพิวเตอร์ในรูปแบบก่อนๆ แล้วนั้น ยังรวมไปถึง (หรืออาจประกอบมาจากส่วนประกอบที่กล่าวถึงข้างล่างนี้)
หนอนอินเทอร์เน็ต (Internet Worm) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถแพร่ กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อี-เมล์ หรือ การแชร์ไฟล์ ทำให้การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง
โทรจัน (Trojan) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้แฝงเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อื่น ในหลากหลายรูปแบบ เช่น โปรแกรม หรือ การ์ดอวยพร เป็นต้น เพื่อดักจับ ติดตาม หรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกคุกคาม
โค้ด Exploit ซึ่งหมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถเจาะระบบโดยอาศัยช่องโหว่ของระบบ ปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนระบบ เพื่อให้ไวรัสหรือผู้บุกรุกสามารถครอบครอง ควบคุม หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดบนระบบได้
ข่าวไวรัส หลอกลวง (Hoax) ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของการส่งข้อความต่อๆ กันไป เหมือนกับการส่งจดหมายลูกโซ่ โดยข้อความประเภทนี้จะใช้หลักจิตวิทยา ทำให้ข่าวสารนั้นน่าเชื่อถือ ถ้าผู้ที่ได้รับข้อความปฏิบัติตามอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบ คอมพิวเตอร์ เช่น การให้ลบไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการโดยหลอกว่าเป็นไวรัส คอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบปฏิบัติการทำงานผิดปกติ เป็นต้น
หมายเหตุ: เมื่อกล่าวถึง hoax จึงขอนำเสนอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะของ hoax อีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช่ไวรัสคอมพิวเตอร์ แต่เป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่พบเห็นได้มากขึ้น เรื่อยๆ ในปัจจุบัน นั่นคือ "Phishing" ซึ่งเป็นการปลอมแปลงอี-เมล์ (E-mail Spoofing) และทำการสร้างเว็บไซต์ปลอมที่มีเนื้อหาเหมือนกับเว็บไซต์ของจริงและมี Address ใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริง เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอี-เมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ อาทิ ข้อมูลของหมายเลขบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password) หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ
ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาคุกคามระบบได้อย่างไร
โดยปกติแล้วไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าคุมคามระบบได้เนื่องจากสาเหตุหลักๆ 3 ประการ คือ

มีการ เรียกใช้งานไฟล์ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่ ในส่วนของสาเหตุจากการที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกใช้งานไฟล์ที่มีไวรัส คอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่แล้วทำให้ระบบถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาคุกคามได้นั้น เป็นสาเหตุซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี นอกจากการฝังตัวอยู่กับไฟล์ของผู้ใช้งานซึ่งเป็นรูปแบบของไวรัสคอมพิวเตอร์ แบบยุคต้นๆ แล้วนั้น ในปัจจุบันไวรัสคอมพิวเตอร์มักจะใช้หลักจิตวิทยาที่เรียกว่า Social Engineering เพื่อทำการล่อลวงให้ผู้ใช้งานเรียกเปิดไฟล์ที่เป็นไวรัส เช่น แฝงมาในรูปแบบของโปรแกรมการ์ดอวยพร หรือ โปรแกรม screen saver หรือ แฝงอยู่ในไฟล์ที่ได้รับมาจากบุคคลที่ผู้ใช้รู้จัก ซึ่งผู้ใช้อาจจะได้รับมาทางอี-เมล์ที่มีการปลอมแปลงว่ามาจากบุคคลที่ผู้ใช้ รู้จัก หรือไวรัสอาจแฝงอยู่ในรูปแบบของ link ในอี-เมล์หรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่หลอกลวงให้ผู้ใช้ click เพื่อเรียกใช้งาน เป็นต้น
ระบบที่ไม่มี การใช้งานโปรแกรม Anti-Virus หรือมีการใช้งานโปรแกรม Anti-Virus แต่ไม่ได้ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัสสำหรับสาเหตุหลักอีกสาเหตุหนึ่งของการที่ระบบถูกไวรัส คอมพิวเตอร์คุกคามคือการที่ระบบไม่มีการใช้งานโปรแกรม Anti-Virus หรือมีการใช้งานโปรแกรม Anti-Virus แต่ไม่ได้ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซอฟต์แวร์ Anti-Virus ส่วนใหญ่จะสามารถต่อต้านการคุกคามจากไวรัสคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมรู้จักซึ่ง จะได้รับการจัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Definition Database) ซึ่งจำเป็นต้องมีการ Update ฐานข้อมูลดังกล่าวนี้ให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้โปรแกรมรู้จักและสามารถต่อ ต้านไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ๆ ได้ บางท่านอาจมีความเชื่อที่ผิดๆ ว่าหากมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ Anti-virus บนระบบแล้วไวรัสคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเข้ามาคุกคามระบบได้ ในความเป็นจริงแล้วถึงแม้ระบบจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ดังกล่าวอยู่ แต่หากไม่มีการ update ฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอ หรือ ไม่มีการใช้งานซอฟต์แวร์ Anti-virus เพื่อตรวจสอบโดยละเอียดว่าระบบปราศจากไวรัสคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอแล้ว นั้น ไวรัสคอมพิวเตอร์ก็ยังอาจสามารถเข้ามาคุกคามระบบได้ ยิ่งไปกว่านั้นถึงแม้ซอฟต์แวร์ Anti-virus จะได้รับการติดตั้งและใช้งานอย่างเหมาะสมทุกประการ แต่ระบบก็ยังอาจมีความเสี่ยงต่อการถูกคุมคามอยู่หากระบบมีช่องโหว่ (Vulnerbilities) ซึ่งจะกล่าวถึงในช่วงต่อไป
ระบบปฏิบัติ การหรือซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่บนระบบมีช่องโหว่ (Vulnerbilities) พร้อมทั้งระบบมีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย สำหรับสาเหตุในส่วนของการที่ระบบมีช่องโหว่นั้นยังไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจและ ตระหนักถึงกันอย่างถ่องแท้มากนัก ในความเป็นจริง ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่บนระบบมักจะมีช่องโหว่อยู่ทั้งสิ้น ซึ่งมักจะมีผู้ค้นพบช่องโหว่ใหม่ๆ ของระบบอยู่เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ช่องโหว่ (vulnerbilities) มีความหมายคล้ายๆ กับ จุดบกพร่อง (Bugs) ของระบบ โดยรวมๆ ช่องโหว่หมายถึง การที่ระบบมีช่องทางให้ผู้โจมตีสามารถเข้ามาครอบครอง ควบคุมการทำงาน นำไวรัสคอมพิวเตอร์มาเรียกใช้งาน หรือ ทำการบางอย่างบนระบบได้ ในกรณีที่ท่านใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ท่านสามารถตรวจสอบว่าระบบของท่านมีช่องโหว่อะไรบ้างได้โดยการเรียกใช้งาน Windows Update หรือ browse ไปที่ http://windowsupdate.microsoft.com/ท่าน อาจพบว่าระบบของท่านมีช่องโหว่ที่ร้ายแรงมากมาย ซึ่งช่องโหว่เหล่านี้เป็นช่องทางให้ไวรัสคอมพิวเตอร์หรือผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถเข้ามาในระบบของท่านผ่านเครือข่ายได้ การที่ระบบมีช่องโหว่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกได้ว่า "อยู่ดีๆ ก็ติดไวรัส" นั่นเอง นอกจากนี้การใช้งานระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ในบางลักษณะก็ทำให้เกิดช่อง โหว่ได้ เช่น การให้โปรแกรมเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมาโดยอัตโนมัติ การอนุญาตให้บุคคลอื่นนำไฟล์มาติดตั้งบนระบบได้ (Full-Right File Sharing) เป็นต้น

การแก้ไขระบบที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์
การ แก้ไขระบบที่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์คุกคามนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับไวรัสที่ เข้ามาคุกคามระบบ ดังนั้นก่อนอื่นท่านจะต้องทราบก่อนว่าไวรัสอะไรเข้ามาอยู่บนระบบของท่าน ส่วนใหญ่ระบบที่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์คุกคามคือระบบที่ไม่มีการใช้งานโปรแกรม Anti-virus หรือมีการใช้งานโปรแกรม Anti-virus แต่ไม่ได้ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัส ดังนั้นการจะทราบถึงว่าไวรัสอะไรอยู่ในระบบได้นั้น ท่านสามารถเลือกใช้วิธีการต่อไปนี้


นำเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นที่มีซอฟต์แวร์ Anti-virus ติดตั้งอยู่และได้รับการ update ฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยและผ่านการตรวจสอบแล้วว่าระบบปราศจากไวรัส คอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการตรวจสอบว่าระบบของท่านถูกไวรัสอะไรคุกคาม (สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบไวรัสโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ อื่นด้วยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องผ่านเครือข่าย (หรือการต่อสาย Cross) สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ เช่น ThaiCERT ฯ)
ใช้บริการระบบตรวจหาไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บ (ฟรี) เช่นที่ http://housecall.trendmicro.com/housecall/หรือ http://www.pandasoftware.com/products/activescan/เป็น ต้น จุดอ่อนของวิธีนี้คือการตรวจสอบอาจทำได้ไม่เร็วนักเนื่องจากความล่าช้าของ เครือข่าย นอกจากนั้นระบบเหล่านี้อาจไม่ทำงานบนระบบของท่านที่มีซอฟต์แวร์ Anti-virus ยี่ห้ออื่นติดตั้งอยู่ และยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสบางชนิดทำให้ระบบของท่านไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้เลย บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมไม่ใช้วิธีติดตั้งซอฟต์แวร์ Anti-virus และ/หรือ update ฐานข้อมูลไวรัส และเรียกใช้งานโปรแกรมดังกล่าว เพื่อทำการตรวจหาไวรัสบนระบบของท่าน จุดอ่อนของวิธีนี้คือเมื่อระบบของท่านถูกไวรัสคุกคาม ไวรัสอาจทำการปิดกั้นหรือขัดขวางระบบทำให้ท่านไม่สามารถติดตั้งหรือเรียกใช้ งานซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้ หรืออาจทำให้ซอฟต์แวร์ Anti-virus ทำงานขัดข้องหรือบกพร่องได้
เมื่อทราบว่า ระบบติดไวรัสชนิดใดแล้ว ให้ทำการจัดหาโปรแกรมสำหรับกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวนั้นๆ (Fix Tool) มาใช้กำจัดไวรัสบนระบบของท่าน ซึ่งท่านสามารถ download โปรแกรม Fix Tool เหล่านี้มาใช้งานได้ฟรีจากเว็บไซต์ต่างๆ เช่น http://securityresponse.symantec.com/avcenter/tools.list.htmlหรือ http://www.pandasoftware.com/download/utilities/เป็น ต้น ท่านอาจจะต้องทำให้ระบบปฏิบัติการของท่านทำงานใน Safe Mode (ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ) เพื่อที่จะให้โปรแกรม Fix Tool เหล่านี้ทำงานได้อย่างมีความถูกต้องสูงสุด เมื่อกำจัดไวรัสบนระบบของท่านหมดแล้ว ให้ทำการตรวจสอบว่าระบบปฏิบัติการของท่านมีช่องโหว่ที่ critical อยู่หรือไม่ ถ้ามี ให้ทำการแก้ไข ซึ่งการตรวจสอบและแก้ไข โดยปกติทำได้โดยการ browse ไปที่ http://windowsupdate.microsoft.com/เมื่อ แก้ไขช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการเสร็จแล้ว ให้ทำการติดตั้งโปรแกรม Anti-virus และ/หรือ update ฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยที่สุด และเรียกใช้งานโปรแกรมดังกล่าวเพื่อทำการตรวจสอบระบบของท่านโดยละเอียดอีก ครั้งหนึ่งว่าปราศจากไวรัสคอมพิวเตอร์แล้ว
โดยสรุปแล้ว ขั้นตอนคร่าวๆ ในการแก้ไขระบบที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ
  1. ตรวจสอบ ว่าระบบติดไวรัสอะไร โดยการใช้โปรแกรมสำหรับตรวจสอบไวรัสซึ่งอาจทำได้โดยการอาศัยเครื่อง คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งเข้ามาต่อพ่วงเพื่อช่วยในการตรวจสอบ หรืออาศัยระบบการตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บ (Web-based virus scan engine)
  2. Download โปรแกรมสำหรับแก้ไขไวรัสที่ตรวจพบมาใช้กำจัดไวรัส
  3. อุดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ
  4. Update ฐานข้อมูลไวรัสของโปรแกรม Anti-virus แล้วใช้โปรแกรมทำการตรวจหาไวรัสบนระบบอีกครั้ง
การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
ท่าน ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบของท่านถูกไวรัส คอมพิวเตอร์คุกคาม (ข้อควรปฏิบัติ 2 ประการแรก เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด)

  • ติดตั้งโปรแกรม Anti-virus บนระบบของท่าน และ
    • ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัสของโปรแกรมอยู่เสมอ (เลือกใช้งาน feature การ update ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติของโปรแกรม ถ้ามี)
    •  
    • เรียกใช้งานโปรแกรมเพื่อตรวจสอบหาไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นหรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
    • เรียกใช้งาน โปรแกรมเพื่อตรวจสอบหาไวรัส อย่างละเอียด บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน อย่างสม่ำเสมอ เช่น 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หมายเหตุ: หากท่านไม่ต้องการที่จะเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ Anti-virus อย่างน้อยท่านควรจัดหาซอฟต์แวร์ Anti-virus ที่เป็น Freeware มาติดตั้งและใช้งาน ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ฟรีดังกล่าว ได้แก่ Avast Anti-Virus Free Home-Edition (http://www.avast.com)และ AVG Anti-Virus Free Edition (http://free.grisoft.com)
  • ตรวจสอบและ อุดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งท่านสามารถทำได้โดยการ browse ไปที่ http://windowsupdate.microsoft.com/ และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้บนเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อทำการตรวจสอบและ แก้ไขช่องโหว่ที่ critical ของระบบ
  • ปรับแต่งการทำงานของระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์บนระบบให้มีความปลอดภัยสูง เช่น
    • ปรับแต่งไม่ให้โปรแกรมที่ใช้อ่านอี-เมล์เช่น Microsoft Outlook ทำการเปิดไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ (attachment) อย่างอัตโนมัติ
    • ปรับ Security Zone ของ Microsoft Internet Explorer ให้เป็น High Security โดยปรับแต่งที่ Internet Option ของโปรแกรม Internet Explorer
    • ไม่ควรอนุญาตให้โปรแกรม Microsoft Office เรียกใช้งาน Macro
    • เปิดใช้งานระบบ Firewall ที่ built-in อยู่บนระบบปฏิบัติการ MS Windows XP
    • งดใช้ Feature การ share ไฟล์ผ่านเครือข่าย หากไม่มีความจำเป็น
  • ใช้ความระมัดระวังในการเปิดอ่านอี-เมล์ และการเปิดไฟล์จากสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ
    • หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ จนกว่าจะรู้แหล่งที่มา
    • หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์ที่มีหัวเรื่องที่เป็นข้อความจูงใจเช่น ภาพเด็ด รหัสผ่าน คุณถูกรางวัล เป็นต้น
    • ตรวจสอบหาไวรัสบนสื่อบันทึกข้อมูล ทุกครั้งก่อนเรียกใช้งานไฟล์บนสื่อนั้นๆ
    • ไม่ควรเปิดไฟล์ที่มีนามสกุลแปลกๆ เช่น .pif รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุลซ้อนกันเช่น .jpg.exe, .gif.scr, .txt.exe เป็นต้น
    • ไม่ใช้สื่อบันทึกข้อมูล ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา และหลีกเลี่ยงการใช่สื่อบันทึกข้อมูลร่วมกับบุคคลและระบบอื่นๆ
    • ถือคติพจน์ว่า "ไม่ใช้แผ่นมั่ว ไม่ชัวร์อย่าเปิด"
สำรองข้อมูล ที่สำคัญบนระบบอยู่เสมอ ข้อนี้ไม่ได้เป็นการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์แต่เป็นข้อควรปฏิบัติที่ท่านควร ทำ เพราะไม่มีระบบใดที่ปลอดภัย 100 % วันดีคืนดี ระบบคอมพิวเตอร์ของท่านอาจเกิดการล่มและไม่สามารถกู้คืนมาได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลากหลาย เช่น อุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลเกิดการชำรุด หรือระบบอาจถูกไวรัสที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อนคุกคามร้ายแรง เป็นต้น                                                                                                                                         
ที่มาhttp://www.cad.go.th/cadweb_org/ewt_news.php?nid=880

อธิบาย บริการจาก Google และยกตัวอย่าง (10 บริการ)

บริการจาก Google และยกตัวอย่าง (10 บริการ)

กูเกิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความนี้เกี่ยวกับบริษัทกูเกิล สำหรับเว็บไซต์และเสิร์ชเอนจิน ดูที่ กูเกิล เสิร์ช

กูเกิล


(Google Inc.)




ประเภท


บริษัทมหาชน (แนสแด็ก: GOOG) , (LSE: GGEA)


ก่อตั้งเมื่อ

เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย

(4 กันยายน 2541) [1


สำนักงานใหญ่

เมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย


บุคลากรหลัก

แลร์รี เพจ ผู้ร่วมก่อตั้ง ผู้อำนวยการ
เซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธานฝ่ายเทคโนโลยี

รายได้

US$21.796 พันล้าน▲56% (2551) [2]
จำนวนพนักงาน

ดูในส่วนผลิตภัณฑ์


คำขวัญ

Don't be evil


เว็บไซต์

www.google.com
www.google.co.th
กูเกิล (Google Inc.) (แนสแด็ก: GOOG และ LSE: GGEA) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550)[ต้องการอ้างอิง] โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) [3]

กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย [4] และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน[5] ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน


การใช้บริการของเราไม่ได้ทำให้คุณเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ในบริการหรือเนื้อหาที่คุณเข้าถึง คุณไม่สามารถใช้เนื้อหาในบริการของเรา เว้นแต่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของเนื้อหาดังกล่าว หรือสามารถกระทำได้โดยกฎหมาย ข้อกำหนดนี้มิได้ให้สิทธิแก่คุณในการใช้การสร้างแบรนด์หรือโลโก้ใดๆ ที่ใช้ในบริการของเรา ห้ามนำออก ปิดบัง หรือเปลี่ยนแปลงประกาศทางกฎหมายใดๆ ที่แสดงในหรือกับบริการของเรา

บริการของเราแสดงเนื้อหาบางอย่างที่ไม่ได้เป็นของ Google เนื้อหานี้เป็นความรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวของบุคคลที่เผยแพร่เนื้อหานั้น เราอาจตรวจสอบเนื้อหาเพื่อพิจารณาว่าเนื้อหานั้นผิดกฎหมายหรือละเมิดนโยบาย ของเราหรือไม่ และเราอาจนำเนื้อหาออกหรือปฏิเสธที่จะแสดงเนื้อหาที่เราเชื่อโดยมีเหตุผลอัน สมควรว่าผิดกฎหมายหรือละเมิดนโยบายของเรา ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราได้ทำการตรวจสอบเนื้อหาทุกครั้งเสมอไป ดังนั้น โปรดอย่าคาดการณ์ว่าเป็นเช่นนั้น

ในส่วนของการใช้บริการจากเรา เราอาจส่งประกาศเกี่ยวกับบริการ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และข้อมูลอื่นๆ ให้แก่คุณ คุณสามารถเลือกไม่รับการสื่อสารเหล่านี้บางรายการได้

บริการ ของ อินเตอร์เน็ต ได้แก่
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้อง ส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้ 
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ 
3. การโอนถ่ายข้อมูล (FTP) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง 
4. การสืบค้นข้อมูล (เวิลด์ไวด์เว็บ, Gopher, Archie) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้ 
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (ยูสเน็ต) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์ เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (แชท, ไออาร์ซี) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม 
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต 
8. การให้ความบันเทิง บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
9.Google AdWords https://adwords.google.com/select/
Google AdSense https://www.google.com/adsense/ 
Google Analytics http://google.com/analytics/ 
Google Answers http://answers.google.com/ 
Google Base http://base.google.com/ 
Google Blog Search http://blogsearch.google.com/ 
Google Bookmarks http://www.google.com/bookmarks/ 
Google Books Search http://books.google.com/ 
Google Calendar http://google.com/calendar/ 
Google Catalogs http://catalogs.google.com/

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อธิบาย Social Network และยกตัวอย่าง WebหรือApplication (10 ตัวอย่าง)


Social Network

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)
เครือ ข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) หมายถึงกลุ่มคนที่รวมกันเป็นสังคมมีการทากิจกรรมร่วมกันบนอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบของเว็บไซต์มีการแผ่ขยายออกไปเรื่อย ๆ เป็นรูปแบบของการสื่อสารข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ทาให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสังคมขึ้นมา การสร้างชุมชนใหม่บนอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสาคัญในการติดต่อสื่อสาร สามารถทากิจกรรมต่างๆ ทั้งเพื่อการศึกษา ธุรกิจ และความบันเทิง


ทุก วันนี้มีคนใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์มากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ Social Mediaที่ผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทาขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนามาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้ทาผ่านทาง Internetและโทรศัพท์มือถือ เช่น กระดานความคิดเห็น เว็บบล็อก วิกิ (wiki)Podcast รูปภาพ และวิดีโอ โดยมีเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหา (content) เหล่านี้ ได้แก่ เว็บบล็อก เว็บไซต์ที่แชร์รูปภาพ แชร์เพลง แชร์วิดีโอ เว็บบอร์ด อีเมล์ IM (Instant Massage) เครื่องมือที่ให้บริการ เช่น Voice over IP ส่วนเว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network ได้แก่ Google GroupFacebookMySpaceหรือ Youtubeเป็นต้น

 Social networkingเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สาหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทา และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมที่ต้องติดต่อกันในลักษณะ realtimeจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ Avatars United, Bebo, Facebook, LinkedIn, MySpace, Orkut, Skyrock, Netlog, Hi5, Friendster, Multiplyโดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น Hi5 เคยเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ส่วนบริการเครือข่ายสังคมที่ทาขึ้นมาสาหรับคนไทยโดยเฉพาะ คือ BangkokSpaceในขณะที่ Orkutก็เคยเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย


ตัวอย่างเว็บ Facebookและ Multiply

   

   Social network aggregationการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงความสนใจและด้วยการแชร์ กิจกรรมของผู้อื่นในบริการเครือข่ายสังคม เหมือนกับ social network อื่น แต่มีโปรแกรมทางานที่ให้ความยินยอมให้กลุ่มเครือข่ายสังคมอื่นข้ามเข้ามาทา ติดต่อทากิจกรรมในเว็บได้ ด้วยการใช้ระบุตัวตนและผู้เป็นสมาชิกยอมรับ เช่น เว็บ Friendfeedหรือ Spokeo

 

หมวด ความร่วมมือ และแบ่งปัน (Collaboration) จะมีกลุ่ม Wikis, Social bookmarking, Social newsและ Opinion sitesWikipediaเว็บไซต์ในรูปแบบข้อมูลอ้างอิง ซึ่งก็คือสารานุกรมออนไลน์ ที่จัดทาขึ้นมาในหลาย ๆ ภาษาในลักษณะเนื้อหาเสรี คาว่า “วิกิพีเดีย” มีที่มาของชื่อการผสมคาของคาว่า “วิกิ” (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่ร่วมกันปรับปรุง และคาว่า “เอนไซโคลพีเดีย” (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม เว็บไซต์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์ และ แลร์รี แซงเจอร์

 Social bookmarkingคือบริการบนเว็บที่แบ่งบันการคั่นหน้าอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์บริการคั่นหน้าแบบรวมกลุ่มเป็นที่นิยมในการจัดเก็บ แบ่งหมวดหมู่ แบ่งปัน และค้นหาลิงก์ด้วยเทคนิคโฟล์คโซโน (Folksonomyหรืออนุกรมวิธานที่ผู้ใช้สร้างเอง) บนอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต นอกจากการคั่นหน้าสาหรับหน้าเว็บแล้วบริการคั่นหน้าสาหรับเฉพาะเนื้อหาบาง หัวข้อหรือเฉพาะสาหรับการจัดรูปแบบบางแบบ เช่น ฟีด หนังสือ วิดิทัศน์ รายการสินค้าและบริการ ที่ตั้งในแผนที่ ฯลฯ ก็สามารถพบได้ คั่นหน้าแบบรวมกลุ่มยังเป็นส่วนหนึ่งของเว็บข่าวแบบรวมกลุ่ม เช่น StumbleUpon


 
 Social newsเว็บกลุ่มข่าวสารที่ผู้ใช้สามารถส่งข่าว โดยผสม social bookmarking บล็อก และการเชื่อมโยงเนื้อหาเว็บเข้าด้วยกัน และมีการกรองคัดเลือกเนื้อหาในลักษณะการร่วมลงคะแนนที่ทุกคนเท่าเทียมกัน (ไม่มีลาดับชั้น) เนื้อหาข่าวและเว็บไซต์จะถูกส่งเข้ามาโดยผู้ใช้ จากนั้นจะถูกเลื่อนให้ไปแสดงที่หน้าแรกผ่านระบบการจัดอันดับโดยผู้ใช้ ซึ่งข่าวอาจอยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ การกระจายเสียง อินเทอร์เน็ต การบอกเล่าเรื่องราวของบุคคลอื่น หรือกลุ่มคน เช่น เว็บ Digg

Opinion sites เว็บแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น หรือจัดอันดับ เช่น Yelp 

 
      
MySpace –เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking


     

Facebook -เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking



 MusicYouTube –เว็บไซต์ Social Networking และ แชร์วิดีโอ


 

 Avatars United–เว็บไซต์ในรูปแบบ Social NetworkingSecond Life

 

ที่มา http://www.ictlaw.dusit.ac.th/doc/02.pdf

อธิบาย Homepage/ Webpage /Website /Web Browser

Homepage/ Webpage /Website /Web Browser

Home Page 

 Home Page หรือ โฮมเพจ คือ Web Page เป็นหน้าแรกของ Web Site นั้นๆ ดังที่กล่าวมาแล้วว่า Web Site ประกอบไปด้วยหลายๆ Web Page แต่ถ้าเรากำหนดให้ Web Page ใดเป็นหน้าแรกของ Web Site ที่สร้างขึ้น เราจะเรียก Web  Page นั้นว่า  Home Page
          เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งเปรียบได้กับเอกสารหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้เว็บไซต์ใดก็ตามจะเนหน้านี้เป็นหน้าแรก โดย Home Page จะทำหน้าที่แสดงข้อมูลข่าวสาร การโฆษณา และประชาสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้ทราบว่า ในเว็บไซต์มีอะไรบ้าง รวมถึงการแสดงเมนูต่างๆ โดยเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ภายใจเว็บไซต์ ในหน้านี้จะมีการออกแบบให้มีความสวยงามและน่าสนใจ เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกิดความสนใจที่จะเข้ามาชมในเว็บไซต์




Web Page

 Web Page หรือ เว็บเพจ คือ เอกสารหน้าหนึ่งที่อยู่ในเว็บไซต์ โดยแต่ละหน้า Web Page อาจจะถูกสร้างด้วยภาษาที่ต่างกันไป เช่น HTML, ASP, PHP, Perl เป็นต้น ดังนั้น เราจะสังเกตเห็นว่า นามสกุลหรือส่วนขยายของ Web Page อาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ เนื่องมาจากภาษาที่เราสร้าง Web Page นั่นเอง เช่น ถ้าสร้างด้วย HTML ก็จะมีนามสกุล .html หรือ .htm หรือสร้างด้วย ASP ไฟล์ก็จะมีนามสกุล .asp เป็นต้น





 
  

 Web Site

 Web Site  หรือ เว็บไซต์ เป็นที่เก็บเว็บเพจหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าที่อยู่ของเว็บเพจ เช่นเดียวกับบ้านเลขที่ ถ้าเราต้องการที่จะไปหาคนคนหนึ่งเราจะต้องรู้บ้านเลขที่ของคนๆ นั้น เช่นเดียวกัน ถ้าเราต้องการหาเว็บเพจเราก็ต้องรู้ที่อยู่ของเว็บเพจนั้น ก็คือต้องรู้ Web Site นั่นเอง โดยที่ Web Sit
 หนึ่งจะมีหลายๆ Web Page

 

  Web browser

Web browser (เว็บบราวเซอร์) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์ แต่นิยามที่แต่ละคนให้ ถึงจะไม่ผิด แต่ก็มีความหลากหลาย ไม่เหมือนกัน ไม่ครอบคลุม หรือไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ซึ่ง หลังจากได้ค้นหาและอ่านนิยามจากหลายๆ เว็บ ผมขอให้ความหมายของ Web browser ใหม่ ดังนี้
Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อ สารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า World Wide Web (WWW)

Web browser คืออะไร ความหมายจากหลายๆ เว็บไซต์

ช่วงน้ำท่วม ผมอยู่ว่างๆ เลยลองค้นดูใน Google ว่ามีใครให้ความหมายหรือนิยาม “Web browser คืออะไร” ไว้อย่างไรบ้าง จากผลการค้นหาผมไม่เจอคำนิยามจากหน่วยการที่น่าจะใช้อ้างอิงได้ อย่าง กระทรวงไอซีที หรือหน่วยงานด้านภาษาต่างๆ แต่เจอในเว็บของสถานศึกษาและเว็บเกี่ยวกับไอทีอยู่พอสมควร ในที่นี้ผมขออนุญาตนำ 2-3 ความหมายที่คิดว่าน่าจะถูกต้องมาลงไว้ด้วย ดังนี้

Web browser คือ
“โปรแกรม ที่ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต (sufring the Internet) คือใช้ในการเปิด web page และอย่างอื่นอีกมาก” - http://www.vcharkarn.com/vblog/36733
“โปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web) หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรม
ที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ตที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเว็บเบราว์เซอร ์ (Web Browser) จะเข้าใจในภาษาHTML นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้” - http://school.obec.go.th/pp_school/html/browser.html
“โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ” - http://www.mindphp.com + http://th.wikipedia.org

Web browser คืออะไร ความหมายที่อาจทำให้หลายคนสับสน

จากนิยามของ Web browser ที่ได้ข้างต้น รวมทั้งที่ผมได้ให้ไว้เล่นๆ ด้วย จะเห็นได้ว่ามีความหมายที่คล้ายๆ กัน คือ

Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในหน้าเว็บเพจ

อย่างไรก็ตาม จากนิยามหรือความหมายของ Web browser ที่ผมเจอในเว็บต่างๆ ผมมองว่ามี 2 ประเด็นที่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัยและอาจเป็นสาเหตุให้ตีความหรือเข้าใจว่า Web browser คืออะไร แตกต่างหรือคลาดเคลื่อนกันไป คือ
  • การใช้คำ “สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต” ที่อาจจะทำให้หลายๆ คนเข้าใจได้ว่า อินเทอร์เน็ต ก็คือ WWW (World Wide Web) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะคำว่า WWW เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางกว่า และยังรวมเอาการใช้งานหรือหรือบริการอื่นๆ นอกจาก WWW เอาไว้ด้วย เช่น อีเมล์ (e-mail) แชท (Chat) IRC และ FTP เป็นต้น
  • การใช้คำ “ภาษา HTML” ที่ผมว่ามันยากไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป หรือบางคนที่รู้มากขึ้นมาหน่อย ก็อาจจะสงสัยอีกว่าแล้วภาษา Java, Javascript, Asp, Php, CFM หรืออื่นๆ ล่ะมันคืออะไร ซึ่งในที่นี้ ผมขออธิบายให้เข้าใจนิดหน่อยว่า HTML คือภาษาหลักที่ Web browser ใช้แสดงผลหรือแสดงข้อมูลในหน้าเว็บเพจ ส่วนภาษาอื่นๆ นั้นคือภาษาเสริม ที่ทำให้คนเขียนเว็บจัดการข้อมูลและการแสดงผลต่างๆ ได้ดีและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งในการใช้ภาษาเสริมอื่นๆ นั้น ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเพิ่มด้วย เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลแล้วแปลผลที่ได้ให้เป็นภาษาหลัก (HTML) ส่งให้ Web browser นำไปแสดงในหน้าเว็บเพจต่อไป ดังนั้น ในการเขียนเว็บไม่ว่าจะใช้ภาษาเสริมอะไรก็ตาม จะต้องใช้ร่วมกับภาษาหลัก (HTML) เสมอ และข้อมูลที่เราเห็นในหน้าเว็บเพจของทุกเว็บไซต์ก็จะถูกแสดงผลด้วยภาษาหลัก หรือ HTML เสมอด้วยเช่นกัน

Web browser คืออะไร ความหมายโดยสรุปสั้นๆ

จากนิยามของ Web browser ที่ผมได้ให้ตามความเข้าใจข้างต้น และจากการค้นหาและอ่านจากเว็บอื่นๆ ผมขอสรุปและให้นิยาม Web browser คืออะไร ดังนี้
Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อ สารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า World Wide Web (WWW)

Web browser มีอะไรบ้าง
Web browser ที่เป็นที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย มีดังนี้
  • Internet Explorer
  • Mozilla Firefox
  • Google Chrome
  • Safari  
          
 
 ที่มา http://webbrowserคืออะไร.blogspot.com/
        http://www.krusamut.com/?tag=web-page