วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารแบบไร้สาย เป็นอย่างไร


ความหมาย ของเครือข่ายไร้สาย

           เครือข่ายไร้สาย  หมายถึง  ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง  หรือขยายเครือข่าย โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการถ่ายโอนข้อมูลผ่านอากาศ แทนการใช้สายสัญญาณ  สะดวกต่อการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูล (Wireless LAN Association 2006)           
เครือข่ายไร้สาย หมายถึง เครือข่ายเฉพาะที่ ถ่ายโอนข้อมูลผ่านอากาศในย่านความถี่วิทยุที่ อนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน  โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณ  จุดส่งสัญญาณ(Access points) แต่ละจุดสามารถส่งได้ไกลหลายร้อยฟุต และสามารถทะลุกำแพงหรือสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ได้  และสามารถใช้สัญญาณพร้อมกันได้หลายคนเหมือนกับระบบโทรศัพท์เซลลูล่า (TechEncyclopedia 2007)
            ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN= Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่นำมาใช้ทดแทน หรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้ สายแบบดั้งเดิมโดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และคลื่นอินฟราเรดในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องผ่าน ทางอากาศ  ทะลุกำแพง  เพดาน  หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย

ประวัติความเป็นมาของเครือข่ายไร้สาย

            ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย  โดยโปรเจกต์ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า "ALOHNET" ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง  ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆ หนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu
             เทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สายได้นำเข้ามาใช้งานในเมืองไทย ประมาณต้นปี 2544 ในขณะนั้นเสียงตอบรับจากผู้ใช้งานยังค่อนข้างน้อย เนื่องจากอุปกรณ์ไร้สายมีราคาแพงจนกระทั่งปัจจุบันระบบเครือข่ายไร้สายเริ่ม ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากราคาอุปกรณ์ ถูกลงมาก ประกอบกับทางบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายได้ปลุกกระแสการใช้งานระบบเครือ ข่ายไร้สายอีกครั้ง โดยการหยิบยกจุดเด่นของเทคโนโลยีที่ไม่ต้องพึ่งพาสายสัญญาณสำหรับสื่อสาร ข้อมูลเป็นจุดขาย  กล่าวคือผู้ใช้งานสามารถเชื่อมโยงเข้าระบบเครือข่ายจากพื้นที่ใดก็ได้ที่ อยู่ในรัศมีของสัญญาณ และระบบสามารถแก้ปัญหาเรื่องการติดตั้งสายสัญญาณในพื้นที่ที่ทำได้ลำบาก  เทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สายได้สร้างภาพลักษณ์ ใหม่ของการใช้งานระบบเครือข่ายซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานอยู่กับที่  แต่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานยังที่ต่างๆ ได้ ตามใจต้องการ เช่น สวนหย่อม  สนามหญ้าหน้าบ้าน หรือริมสนาม เป็นต้น
1. Peer-to-peer ( ad hoc mode )  ระบบ แลนไร้สายแบบ Peer to Peer หรือ ระบบแลนเสมอภาค คือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบต่างมีศักดิ์ศรีเท่ากัน ทํางานของ ตนเองได้และขอใช้บริการจากเครื่องอื่นได้ ดังภาพ



2. Client/server (Infrastructure mode)   เป็นระบบที่มีการติดตั้ง Access Point ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายสามารถติดต่อระหว่างกัน และสามารถติดต่อไปที่ server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ ดังภาพ



3. Multiple access points and roaming  ใช้ใน กรณีที่สถานที่กว้างมากๆ เช่น คลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย โดย ีการเพิ่มจุดการติดตั้ง Access Point ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่เป็นไปอย่างครอบคลุม ทั่วถึง ดังภาพ



4. Use of an Extension Point   กรณีที่โครง สร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหา เพื่อเป็นการแก้ปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ ดังภาพ

5. The Use of Directional Antennasระบบ แลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคารเพื่อส่งและรับสัญญาณ ระหว่างกัน ดังภาพที่แสดงให้ เห็นถึงการทํางานของระบบ ดังภาพ

  
มาตรฐานเครือข่ายไร้สายที่เป็นที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่  
         IEEE 802.11a   เป็น มาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง     ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย
            IEEE 802.11b   เป็น มาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่ สุดข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุนการใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi
           IEEE 802.11g    เป็น มาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับ มาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูลในระดับ 54  เมกะบิตต่อวินาทีและให้รัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)
เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย

เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่ใช้ในการส่งสัญญาณนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทที่ใช้สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ Narrow band และ Spread spectrum และประเภทที่ใช้สัญญาณอินฟราเรดในการติดต่อรับ-ส่งข้อมูล  มีรายละเอียดดังนี้
           สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ
                   -  Narrow band Technology   เป็นระบบที่ใช้ความถี่แคบ
                   -  Spread spectrum technology ใช้ความถี่กว้างกว่าแบบแรก
                   -  Orthogonal frequency division multiplex (OFDM)  เป็นการ Multiplex สัญญาณโดยช่องสัญญาณความถี่จะถูกแบ่งออกเป็นความถี่พาหะย่อย (subcarrier) หลาย ๆ ความถี่
           สัญญาณคลื่นอินฟาเรด
                    เป็นคลื่นที่เดินทางเป็นแนวตรง ราคาถูก และง่ายต่อการผลิตใช้งาน  แต่คลื่นประเภทนี้
                   ไม่สามารถเดินทางผ่านสิ่งกีดขวางได้ เช่น สัญญาณที่ใช้ในรีโมทคอนโทล

อุปกรณ์เชื่อมต่อ

LAN Adapters   ทำหน้าที่เป็น Interface ระหว่าง OS ของระบบเครือข่ายกับเสาอากาศ เพื่อจะสร้างการเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายอื่นต่อไป  แบ่งได้ดังนี้
                           -   แลนการ์ดไร้สายแบบ PCMCIA    ใช้ติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Nootebook
                           -   แลนการ์ดไร้สายแบบ PCI     ใช้ติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
                           -   แลนการ์ดไร้สายแบบ USB    ใช้ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและ Nootebook
                           -   แลนการ์ดไร้สายแบบ CF   ใช้ติดตั้งบนเครื่อง Pocket PC หรือ PDA                                                                                          
            แลนการ์ดไร้สายแบบ PCMCIA                            แลนการ์ดไร้สายแบบ PCI 
                                                                              
              แลนการ์ดไร้สายแบบ USB                                 แลนการ์ดไร้สายแบบ CF

Wireless Access Point   ทำหน้าที่คล้าย Hub ของระบบ LAN แบบใช้สาย โดยที่จะเป็นตัวรับเป็น Buffers และส่งข้อมูลระหว่าง WLAN และโครงสร้างแบบใช้สาย สนับสนุนการใช้งานของอุปกรณ์ไร้สายแบบเป็นกลุ่ม ซึ่งตัว Access Point มันจะเชื่อมต่อกับ Backbone  ของโครงข่ายใช้สายผ่านมาตรฐานเคเบิลแบบ Ethernet และสื่อสารกับอุปกรณ์ไร้สายผ่านเสาอากาศ

                                                                           

         Outdoor Wireless Bridge   ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับอาคารอื่น ๆ ให้อัตรารับส่งข้อมูลสูง และมีรัศมีการรับส่งหลายไมล์ แต่ต้องอยู่ในลักษณะระดับสายตา line-of-sight

                                                                                

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานกับเครือข่ายไร้สายนั้น มีข้อพิจารณาไม่ได้แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์เครือข่ายใช้สายเท่าใดนัก โดยคุณสมบัติที่ควรมี   มีดังต่อไปนี้
1. มาตรฐานใดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน     ในปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันงานกันอยู่จะเป็นมาตรฐาน IEEE802.11g ซึ่งรองรับอัตราความเร็วสูงสุดในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานโดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้อย่างดี พร้อมกันนั้นก็ยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันกับมาตรฐานเดิมอย่าง IEEE802.11b ได้อย่างไร้ปัญหา
2. ระบบอินเตอร์เฟซแบบไหน    สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กคุณสมบัติแบบไร้สายจะมีมาพร้อมกับตัว เครื่องแล้ว แต่ถ้ายังเป็นรุ่นที่ต้องการการ์ดไร้สายสำหรับโน๊ตบุ๊คอยู่ก็ควรเลือกแบบ PCMCIA Card หรือถ้าอยากจะใช้งานร่วมกับเครื่องพีซีอย่างคุ้มค่าก็ควรเลือกการ์ดแบบ USB Adapter ที่ราคาอาจจะแพงกว่าแต่สามารถใช้งานได้หลากหลาย สำหรับเครื่องพีซีก็ควรเลือกแบบ PCI Card  ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาพร้อมสายสัญญาณและเสาอากาศที่ตั้งบนที่สูงเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการสื่อสารได้

3. ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน    นอกจากจะสนับสนุนการทำงานในแบบ Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer แล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังสามารถใช้  Access Point  เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณกับเครือข่ายใช้สายเพื่อการแชร์การใช้ทรัพยากรร่วม กันได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการได้ยืดหยุ่นกว่า ในแบบ Insfrastructure โดยถ้ายังไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือติดตั้งระบบเครือข่ายมาก่อน ก็ควรจะเลือกใช้อุปกรณ์อย่าง Wireless Router ที่มีคุณสมบัติในแบบ All-in-One จะให้ความคุ้มค่าได้มากกว่า
4.ปกป้องการใช้งานด้วยระบบรักษาความปลอดภัย    การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สายควรคำนึงถึงฟังก์ชันการเข้ารหัสที่ใช้ซึ่ง เทคนิคที่ใช้งานโดยทั่ว ๆ ไป สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน Wired Equivalent Privacy หรือ WEP ขนาด 64/128-bit ร่วมกับ MAC Address Filtering ก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์กรควรใช้เทคนิคการตรวจสอบและกำหนดสิทธิ์การใช้ งาน WPA (Wi-Fi Protected Privacy) เพื่อเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัย
5. เสารับส่งสัญญาณของผลิตภัณฑ์    ถ้าเป็นการ์ดแบบ PCMCIA และแบบ USB จะเป็นเสาอากาศ Built-in มาพร้อมตัวการ์ด ส่วนการ์ดแบบ PCI นั้นจะเป็นเสาอากาศแบบ Reverse-SMA Connector ซึ่งสามารถถอดออกได้ โดยที่พบเห็นจะเป็นทั้งในแบบเสาเดี่ยวๆ ที่หมุนเข้ากับตัวการ์ด และอีกแบบจะเป็นแบบที่มีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้นหรือยึดติด กับผนังได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อเสาอากาศแบบหลัง เนื่องจากให้ความยืดหยุ่นในการติดตั้งมากกว่า เพราะสามารถติดตั้งบนที่สูงๆ ได้ สำหรับอุปกรณ์อย่าง Access Point หรือ Wireless Router นั้นจะมีเสานำสัญญาณทั้งในแบบเสาเดี่ยวและ 2 เสา โดยการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อแบบ 2 เสา เนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่า
6. กำลังส่งที่ปรับได้ สำหรับการใช้งานผลิตภัณฑ์ไร้สายนั้น การปรับกำลังส่งสัญญาณได้นับว่าเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของตัวผลิตภัณฑ์ โดยกำลังส่งสูงสุดจะไม่เกิน 100mW หรือ 20dBm ซึ่งผู้ผลิตบางรายจะมีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนกำลังสูงสุดนี้ทีเดียว โดยค่ากำลังส่งที่มากก็แสดงว่า สามารถที่จะแพร่สัญญาณไปในระยะทางที่ไกล หรือให้รัศมีที่มากขึ้น แต่ก็สามารถปรับกำลังส่งให้ลดต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการได้
7. การอัปเกรดเฟิร์มแวร์เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ อุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่าย
ไร้สาย  เช่น Access Point, Wireless Router ทางผู้ผลิตก็อาจจะเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ ในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของฟังก์ชันการเข้ารหัสทำให้ผู้ผลิตรายต่างๆ มีการออกเฟิร์ม
แวร์รุ่นใหม่ๆ ที่สนับสนุนการทำงานเพิ่มเติมอย่างทำให้รองรับ WPA2 ซึ่งเป็นฟังก์ชันการเข้ารหัสรุ่นใหม่ล่าสุดของอุปกรณ์ไร้สายออกมา ซึ่งผู้ผลิตจะมีเมนูเชื่อมโยงเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลด เฟิร์มแวร์รุ่นใหม่มาใช้งานได้
การเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย
การใช้งานเครือข่ายไร้สายให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น  ขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์ไร้สายด้วยเช่นกัน เพราะหากผลิตภัณฑ์ไร้สายของแต่ละผู้ผลิตไม่สามารถทำงานเข้ากันได้กับผู้ผลิต รายอื่นๆ  ก็จะทำให้การใช้งานเครือข่ายไร้สายด้อยประสิทธิภาพลงไป ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานเครือข่ายไร้สายได้ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในแบบ เต็มเปี่ยม ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจากผู้ผลิตรายเดียวกัน หรือถ้าเลือกใช้ต่างผู้ผลิตก็ให้แน่ใจว่า เลือกใช้ชิปเซ็ตซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีเดียวกัน ก่อนการเลือกซื้อควรตรวจสอบความเข้ากันได้ของผู้ผลิตแต่ละราย โดยสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองจาก Wi-Fi ก่อน และควรตรวจสอบในรายละเอียดเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ดังนี้
  • ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
  • รัศมีของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ครอบคลุมถึง
  • ความเข้ากันได้กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่น
  • Access Point หรือผลิตภัณฑ์ไร้สายอื่นมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณและกำลังส่งได้
  • ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ
  •  การติดตั้งที่ง่ายและสะดวกในการใช้งาน
  • ฟังก์ชันในการเข้ารหัสสัญญาณที่ใช้เพื่อความปลอดภัย
  • มีการพัฒนาและมีซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดผ่านเว็ปไซต์ของผู้ผลิต
  • ผลิตภัณฑ์มีไฟแสดงสถานะการทำงาน
  • ผลิตภัณฑ์มีเครื่องหมายแสดงการผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจาก Wi-Fi Alliance  
 ความปลอดภัย

การไม่หาทางป้องกันเครือข่ายไร้สายหรือชอบใช้บริการฟรีต่างๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ้แฮกเกอร์เจาะเข้ามาโจรกรรมข้อมูลสำคัญ  ใช้เป็นแหล่งเพาะบ่มซอฟต์แวร์อันตรายหรือใช้ข้อมูลของเราไปหากินได้  แต่ความเสี่ยงดังกล่าวสามารถป้องกันได้ด้วยมาตรการง่าย ๆ ต่อไปนี้
1. ใช้เครือข่ายของที่ทำงานเสมอ หากที่ทำงานให้แลปทอ ปไว้ใช้ในการทำงานและสามารถเชื่อมต่อเข้าใช้งานเครือข่ายของที่ทำงาน  พึงระลึกไว้เสมอว่า  ควรใช้ระบบไร้สายผ่านเครือข่ายส่วนตัวแบบเสมือน หรือ Virtual Private Networks (VPNs)เพื่อซ่อนการสื่อสารของเราไว้กับเครือข่ายของที่ทำงาน
2. ทำความสะอาดลิสต์การใช้งานอยู่เสมอ ลิสต์การใช้งาน เปรียบเหมือนหน่วยความจำในการเรียกสายอีกครั้งของโทรศัพท์หรือรีไดอัล  ซึ่งจะทำการบันทึกการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ถูกใช้บ่อยครั้งมากที่สุดดังนั้น หากใช้งานระบบ VPNs ในที่สาธารณะไม่ควรปิดแลปทอปและเดินจากไปเฉยๆ แต่ควรทำการยกเลิกการเชื่อมต่อเมื่อเลิกการใช้งานทันที  มิเช่นนั้น  แลปทอปจะทำการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของสถานที่นั้นแทนที่ระบบ VPNs เมื่อกลับมาใช้งานยังสถานที่ดังกล่าวอีกครั้ง  ซึ่งจะทำให้แลปทอปไม่ปลอดภัย
3. เสริมความปลอดภัยให้กับให้กับเราเตอร์   โดยปกติแล้ว เมื่อนำเราเตอร์ที่เพิ่งซ้อมาใช้งาน  ระบบความปลอดภัยของเราเตอร์ดังกล่าวจะยังไม่ทำงานโดยอัตโนมัติ  ดังนั้น  ควรทำการเปิดระบบความปลอดภัยของเร้าเตอร์ก่อนใช้งาน  ซึ่งอาจหาได้จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตเราเตอร์ดังกล่าว  และเมื่อทำการเปิดระบบความปลอดภัยเสร็จสิ้นแล้ว  สามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้โดยการใช้ Wi-fi Scan ซึ่งเป็นฟรีแวร์จาก McAfee
4. ใช้รหัสผ่านที่มีประสิทธิภาพ    รหัสผ่านถือเป็นปราการด่านสำคัญในการเข้าใช้งานระบบ ดังนั้นหากเลือกใช้รหัสผ่านที่ไม่มีประสิทธิภาพก็เท่ากับเป็นการเปิดช่อง โหว่และเชื้อเชิญให้แฮกเกอร์เข้ามาเจาะระบบได้
5. เสริมความปลอดภัยในการใช้เว็บเมล   ควรทำการติดต่อ ผู้ให้บริการอีเมลของเราเพื่อบอกถึงวิธีในการเสริมความปลอดภัยให้กับเว็บเม ลของเรา  ซึ่งมีให้เลือกหลายวิธี  แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการอีเมลส่วนมากจะไม่เปิดระบบความปลอดภัยนี้โดย อัตโนมัติ             ประโยชน์

ระบบมีความคล่องตัวสูง   สามารถเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใดก็ได้ที่อยู่ในระยะการส่งสัญญาณข้อมูล

            สะดวกต่อการติดตั้ง  สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว  เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล
            สามารถขยายเครือข่ายได้  เป็นระบบที่สามารถขยายเครือข่ายได้ เพราะใช้เพียงพีซีการ์ดต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็สามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
            ลดค่าใช้จ่าย  เป็น การลดค่าใช้จ่ายโดยรวม  เพราะในระยะยาวเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา  และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิม
            มีความยืดหยุ่น   เครือ ข่ายไร้สายเอื้อประโยชน์ต่อองค์กรในการที่สามารถปรับขนาดและความเหมาะสม  ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถย้ายตำแหน่งการใช้งาน  โดยเฉพาะการเชื่อมต่อระหว่างตึก

         แนวโน้มในอนาคต

แนวโน้มของเครือข่ายไร้สายในอนาคตนั้นมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบันโดยถ้ามองในภาพรวม
แล้วจะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้
            สามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่  ทุกเวลา และทุกรูปแบบ
            ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเพิ่มมากขึ้น
            สามารถใช้เทคโนโลยีร่วมกันได้
            อุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายมีขนาดเล็กและราคาถูกลง
            ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น
            สนับสนุนข้อมูลทุกรูปแบบ ทั้งเสียง  วิดีโอ และข้อความ

  
ที่มา http://student.nu.ac.th/datacom47353412/wlan.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น